ฝังเข็ม
ฝังเข็ม (Acupuncture)
คือศาสตร์การรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรค แขนงหนึ่งในแพทย์แผนจีนที่มีมานานกว่า 5,000 ปี โดยใช้เข็มขนาดเล็ก (ประมาณ 0.1-0.3 mm.) ฝังตามจุดฝังเข็มบนเส้นลมปราน เป็นการปรับอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลตามธรรมชาติ
ฝังเข็ม ค่าบริการ 400 บาท/ครั้ง คอร์สละ 3,500 บาท/10 ครั้ง
พิเศษ คอร์สไม่มีหมดอายุ
ติดต่อสอบถาม
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้รับรองให้การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคแขนงหนึ่งและยังมีหลายงานวิจัยพบว่า การฝังเข็มให้ผลการรักษาโดดเด่นกับกลุ่มอาการและโรคหลายๆ โรค เช่น กลุ่มอาการปวดต่างๆ โรคทางระบบทางเดินอาหาร โรคทางสูตินารีเวช เป็นต้น การรักษาด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และ ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย
การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 4 ประการ คือ
ปรับสภาพความสมดุลการทำงานของอวัยวะในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยในการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือการปวดจากเส้นประสาทอักเสบ
กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย
แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ
ฝังเข็มรักษาอะไรบ้าง
รักษาอาการปวดต่างๆ เช่น ไมเกรน ปวดหลัง ปวดศีรษะ
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม
กลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกทับเส้น
โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ
ปรับฮอร์โมน ปรับประจำเดือน ช่วยระบบย่อยอาหาร
โรคอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
ฝังเข็มเพื่อความงาม โดยกระตุ้นให้มีการไหลเวียนโลหิตที่ใบหน้ามากขึ้น
จะต้องฝังเข็มเป็นเวลานานเท่าไหร่
ควรจะฝังเข็มสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 30 นาที ควรมารับบริการฝังเข็มอย่างน้อย 5-10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังควรได้รับการฝังเข็มต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
ฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่
เข็มที่ฝังมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าเข็มฉีดยา) ในขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บเล็กน้อย เมื่อเข็มเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็มจะมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดหน่วงๆไม่มากไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ หลังครบเวลาประมาณ 15-20 นาที แพทย์จะถอดเข็มออก และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติให้อิ่มก่อนเข้ารับการฝังเข็ม 1-2 ชั่วโมง ไม่มากจนเกินไป เพราะถ้าฝังเข็มในช่วงผู้ป่วยอ่อนเพลียหิวหรือแน่นท้องมากจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
2. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมง ในคืนก่อนมาเข้ารับการฝังเข็ม
3. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป
4. รับทราบข้อปฏิบัติตัวและข้อห้ามในการฝังเข็ม
5. ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
6. วัดสัญญาณชีพก่อนเข้ารับการฝังเข็มทุกราย